![]() |
08 ธันวาคม 2565 |
![]() |
ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มในนาม “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นงิ้ว” หมู่ 2 ตำบลสันผักหวาน เนื่องจากในอดีตประชากรในบ้านต้นงิ้วประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา, ปลูกถั่วเหลือง และพืชผักทางการเกษตร ซึ่งบางปีก็ประสบปัญหาเนื่องจากพืชผลไม่แน่นอน ในปี 2543 ได้มีเจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอหางดงได้มาให้ความรู้ด้านการประกอบอาหาร การแปรรูปอาหารให้แก่กลุ่มแม่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และหารายได้เสริมแก่ครอบครัว ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
การก่อตั้งกลุ่มฯ มีนางคำ วงค์คำอ้าย เป็นแกนนำ มีสมาชิกเริ่มแรก 10 คน ดำเนินการแปรรูปอาหาร เช่น มะขามแก้ว กล้วยกวน และข้าวเกรียบฟักทอง แต่การดำเนินงานของกลุ่มฯ ก็ยังคงประสบปัญหาด้านเงินทุน ด้านคุณภาพสินค้า และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 สำนักงานเกษตรอำเภอหางดงได้ให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนซึ่งไม่มีดอกเบี้ย เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท เพื่อซื้ออุปกรณ์ในการผลิตและเป็นเงินทุน ในปี พ.ศ. 2545 ได้ขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร(อย.) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2556 ได้รับการคัดสรรให้เป็นหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับสามดาว และได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 26 คน มีนางคำ วงค์คำอ้าย เป็นประธานกลุ่มฯ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กล้วยกวน น้ำพริกเผาถั่วเหลือง ข้าวแต๋น ข้าวเกรียบสมุนไพรรสต่าง ๆ ตามฤดูกาล และได้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านต้นงิ้ว ที่ตั้งกลุ่มเลขที่ 114/1 หมู่ 2 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5343 0844
08 ธันวาคม 2565 |
![]() | นอกจากตุ๊กตาดินยิ้มที่เป็นอัตลักษณ์ของดีอย่างหนึ่งคู่ตำบล สันผักหวานแล้ว มาถึงวันนี้ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมซึ่งต่อยอดมาจากดินยิ้มอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ นั่นก็คือ “ลูกดินสมุนไพรประคบร้อน”
หมู่บ้านป่าตาลหรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หมู่บ้านดินยิ้ม" เป็นหมู่บ้านที่มีการปั้นตุ๊กตาดินยิ้มซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนมาถึงตอนนี้ได้มีการรวมกลุ่มของสมาชิกที่ปั้นดินยิ้มขึ้นมาเรียกว่ากลุ่มรักษ์ดิน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น เทศบาลตำบลสันผักหวาน, สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหางดง และ กศน.ตำบลสันผักหวาน เป็นต้น สมาชิกกลุ่มรักษ์ดินเล็งเห็นว่าดินที่นำมาใช้ปั้นอยู่นั้นมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือสามารถเป็นตัวนำความร้อนได้ จึงได้นำมาคิดรวมกับการนวดประคบสมุนไพร เกิดนวัตกรรมเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากดิน นั่นก็คือ "ลูกดินสมุนไพรประคบร้อน" เป็นการนำดินมาพัฒนาต่อยอด โดยปั้นเป็นก้อนกลมๆ คล้ายลูกโก๋ง นำมาห่อผ้ารวมกับสมุนไพรหลากหลายชนิด ทำเป็นลูกประคบ ใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และให้ความรู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี หากสนใจสามารถมาชมและเลือกซื้อได้ที่หมู่บ้านดินยิ้ม บ้านป่าตาล หมู่ 4 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ หรือสั่งซื้อจำนวนมากสามารถติดต่อได้ที่สมาชิกกลุ่มรักษ์ดิน คุณพิกุล ศรีสงคราม โทร. 083 2853522 และ 088 2535181
หากท่านผู้อ่านสนใจ “ลูกดินสมุนไพรประคบร้อน” สามารถมาชมและเลือกซื้อได้ที่หมู่บ้านดินยิ้ม บ้านป่าตาล หมู่ 4 ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ หรือสั่งซื้อจำนวนมากสามารถติดต่อได้ที่สมาชิกกลุ่มรักษ์ดิน คุณพิกุล ศรีสงคราม โทร. 083-2853522 และ 088-2535181 สรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
วิธีการใช้งาน : นำไปนึ่งแล้วนวดประคบตามร่างกาย สรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
วิธีการใช้งาน : นำไปนึ่งแล้วนวดประคบตามร่างกาย สรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
วิธีการใช้งาน : นำไปนึ่งแล้วนวดประคบตามร่างกาย
08 ธันวาคม 2565 |
![]() | ผลิตภัณฑ์ชุมชน "วิสาหกิจชุมชนเบ้อเร่อ" 18 พฤศจิกายน 2565 |
![]() | ผลิตภัณฑ์นี้เกิดขึ้นจากคุณบานเย็น ตนขัน (กลุ่มเย็บจักรปักมือบ้านท้าวผายู) เนื่องจากในอดีตคุณบานเย็นประกอบอาชีพช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ห้องเสื้อขวัญกัญจน์เป็นเวลากว่า 20 ปี จึงมีประสบการณ์และความชำนาญในการตัดเย็บเสื้อผ้าชุดพื้นเมืองชุดชาวเขา ฯลฯ ต่อมาปี พ.ศ. 2547 คุณบานเย็นได้ออกจากห้องเสื้อมาทำเป็นธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อผ้าชุดพื้นเมือง ชุดชาวเขา ฯลฯ แต่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบชุดซึ่งก็มีการซ้ำหรือแบบคล้ายกับของช่างตัดเย็บคนอื่น แต่เนื่องจากคุณบานเย็นเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ ศึกษาหารูปแบบการตัดเย็บที่จะไม่ให้ซ้ำแบบกับใคร และได้มีทีมงานจากแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่(เจ็ดยอด) มาให้ความรู้ในด้านการออกแบบการตัดเย็บในแบบใหม่ ๆ จึงทำให้เกิดชุดพื้นเมือง – ชุดชาวเขาในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของร้าน รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเศษผ้า เช่น กระเป๋า เป็นต้น นอกจากนี้คุณบานเย็นยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้า กระเป๋าจากเศษผ้า ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้ในเรื่องการตัดเย็บเสื้อผ้า สามารถทำเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว ปัจจุบันได้มีการนำไปจัดแสดงและจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ทั่วประเทศ และได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเย็บจักรปักมือบ้านท้าวผายู ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่คุณบานเย็น ตนขัน ที่ตั้งกลุ่มเลขที่ 11/4 หมู่ 3 บ้านท้าวผายู ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-1852269 20 ตุลาคม 2557 |
![]() | ตั้งอยู่บ้านต้นงิ้ว หมู่ที่ 2 ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประวัติความเป็นมาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดในยุคประวัติศาสตร์ สมัยเชียงแสน / ล้านนา มีอาณาบริเวณเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ 71.98 ตารางวา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม โขงประตู ลักษณะเป็นมณฑปก่ออิฐถือปูนย่อเก็จ 1 ชั้น หลังคาสอบขึ้นด้านบนแนวเหนือ – ใต้ เป็นประตูทางเข้าลักษณะเป็นซุ้มลดที่ย่อเก็จเพิ่ม 2 ชั้น เป็นเสาซุ้มผนังด้านทิศตะวันออก – ทิศตะวันตกต่อกำแพงแล้วยื่นออกไปในตอนกลางผนังย่อเก็จเพิ่ม 1 ชั้นเป็นซุ้มหลอก บริเวณรอบ ๆ เป็นอิฐก่อขึ้นเป็นกำแพง เรียกว่า กำแพงแก้ว ล้อมรอบอาณาบริเวณที่เป็นลักษณะเนินโบราณสถาน ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่วนใหญ่เหลือแต่ฐานมีดินปกคลุม คงเหลือสภาพสมบูรณ์แต่ซุ้มโขงเท่านั้นที่ยังสามารถเป็นรูปทรงและลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2543 ต่อมาได้มีการสำรวจและบูรณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันยังคงมีการบูรณะอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำลักษณะเป็นน้ำผุดขึ้นจากใต้ดิน เชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ มีประชาชนจำนวนมากนำไปรักษาอาการเจ็บป่วยตามความเชื่อ 15 สิงหาคม 2556 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (6 รายการ)